เยาวชนไทยห่างไกลยาเสพติด

stop abust

แบ่งตามการออกฤทธิ์
๑. ออกฤทธิ์กดประสาท (depressants) จะออกฤทธิ์กดประสาทสมอง ศูนย์ควบคุม การหายใจในสมอง และประสาทที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะบางอย่างของร่างกาย ยาพวกนี้
ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน และเซโคบาร์บิทาล (secobarbital) ซึ่งเรียกกันในหมู่ผู้ใช้ว่า “เหล้าแห้ง” หรือ “ปีศาจแดง”
๒. ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท (stimulants) ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทสมองส่วนกลางโดยตรง และออกฤทธิ์กระตุ้นการเต้นของหัวใจและอารมณ์ ได้แก่ แอมเฟตามีนหรือที่เรียกทั่วไปว่า “ยาบ้า” หรือ“ยาขยัน” และโคเคน เป็นต้น
๓. ออกฤทธิ์หลอนประสาท (hallucinogens) ออกฤทธิ์ต่อประสาทสมอง ทำให้รับรู้ความรู้สึก (perception) ผิดไป เกิดอาการประสาทหลอน หรือแปลสิ่งเร้าผิด (illusion) ได้แก่ แอลเอสดี แก๊สโซลีน (gasoline) เปลือกกล้วย ยางมะละกอ และเฟนไซคลิดีน
๔. ออกฤทธิ์หลายอย่าง คือ ออกฤทธิ์ทั้งกดประสาท กระตุ้นประสาท และหลอนประสาท ได้แก่ กัญชา ใบกระท่อม ใช้น้อยๆ จะกระตุ้นประสาท ใช้มากขึ้นจะกดประสาท และถ้าใช้มากขึ้นอีกจะเกิดประสาทหลอน
แบ่งตามชนิดของยา
๑. ฝิ่นและแอลคาลอยด์ของฝิ่น ได้แก่
ฝิ่น (opium) ได้มาจากยางของผลฝิ่นดิบ ลักษณะเป็นยางเหนียวสีน้ำตาลไหม้ หรือดำ มีกลิ่นเฉพาะตัว และรสขมจัด ต้นฝิ่นสามารถปลูกได้ในประเทศไทย โดยเฉพาะทางภาคเหนือ วิธีเสพคือ การสูบหรือกิน ในสมัยแรกคนไทยนำฝิ่นมาใช้เพื่อลดอาการเจ็บปวด
มอร์ฟีน (morphine) เป็นแอลคาลอยด์ของฝิ่น สกัดจากฝิ่น มีลัษณะเป็นผงสีขาวนวล หรือสีเหลืองอ่อน ละลายน้ำได้ดี ไม่มีกลิ่น รสขมจัด ออกฤทธิ์แรงกว่าฝิ่น ๕-๑๐ เท่า วิธีเสพคือ ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ฉีดเข้ากล้ามหรือฉีดเข้าหลอดเลือดดำ
แบ่งตามการออกฤทธิ์
๑. ออกฤทธิ์กดประสาท (depressants) จะออกฤทธิ์กดประสาทสมอง ศูนย์ควบคุม การหายใจในสมอง และประสาทที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะบางอย่างของร่างกาย ยาพวกนี้
ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน และเซโคบาร์บิทาล (secobarbital) ซึ่งเรียกกันในหมู่ผู้ใช้ว่า “เหล้าแห้ง” หรือ “ปีศาจแดง”
๒. ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท (stimulants) ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทสมองส่วนกลางโดยตรง และออกฤทธิ์กระตุ้นการเต้นของหัวใจและอารมณ์ ได้แก่ แอมเฟตามีนหรือที่เรียกทั่วไปว่า “ยาบ้า” หรือ“ยาขยัน” และโคเคน เป็นต้น
๓. ออกฤทธิ์หลอนประสาท (hallucinogens) ออกฤทธิ์ต่อประสาทสมอง ทำให้รับรู้ความรู้สึก (perception) ผิดไป เกิดอาการประสาทหลอน หรือแปลสิ่งเร้าผิด (illusion) ได้แก่ แอลเอสดี แก๊สโซลีน (gasoline) เปลือกกล้วย ยางมะละกอ และเฟนไซคลิดีน
๔. ออกฤทธิ์หลายอย่าง คือ ออกฤทธิ์ทั้งกดประสาท กระตุ้นประสาท และหลอนประสาท ได้แก่ กัญชา ใบกระท่อม ใช้น้อยๆ จะกระตุ้นประสาท ใช้มากขึ้นจะกดประสาท และถ้าใช้มากขึ้นอีกจะเกิดประสาทหลอน
แบ่งตามชนิดของยา
๑. ฝิ่นและแอลคาลอยด์ของฝิ่น ได้แก่
ฝิ่น (opium) ได้มาจากยางของผลฝิ่นดิบ ลักษณะเป็นยางเหนียวสีน้ำตาลไหม้ หรือดำ มีกลิ่นเฉพาะตัว และรสขมจัด ต้นฝิ่นสามารถปลูกได้ในประเทศไทย โดยเฉพาะทางภาคเหนือ วิธีเสพคือ การสูบหรือกิน ในสมัยแรกคนไทยนำฝิ่นมาใช้เพื่อลดอาการเจ็บปวด
มอร์ฟีน (morphine) เป็นแอลคาลอยด์ของฝิ่น สกัดจากฝิ่น มีลัษณะเป็นผงสีขาวนวล หรือสีเหลืองอ่อน ละลายน้ำได้ดี ไม่มีกลิ่น รสขมจัด ออกฤทธิ์แรงกว่าฝิ่น ๕-๑๐ เท่า วิธีเสพคือ ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ฉีดเข้ากล้ามหรือฉีดเข้าหลอดเลือดดำ
เฮโรอีน (heroin) เป็นอนุพันธ์ของมอร์ฟีน มีฤทธิ์รุนแรงกว่ามอร์ฟีน ๔-๘ เท่าตัว เป็นยาเสพติดที่ร้ายแรงที่สุด ที่แพร่ระบาดมีอยู่ ๒ ชนิดคือ
๑. เฮโรอีนบริสุทธิ์ เรียกว่า เบอร์ ๔ เป็นผงละเอียดสีขาว ไม่มีกลิ่น รสขมจัด ในเมืองไทยความบริสุทธิ์ของเฮโรอีนชนิดนี้มีถึงร้อยละ ๙๐ ในขณะที่ต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา มีเพียงร้อยละ ๕ เสพโดยวิธีสูบ และฉีดเข้าใต้ผิวหนังหรือเข้าหลอดเลือดดำ
๒. เฮโรอีนผสม เรียกว่า เบอร์ ๓ หรือไอระเหย มีลักษณะเป็น เกล็ดสีม่วง สีอิฐ สีเทา หรือสีต่างๆ เป็นเฮโรอีนบริสุทธิ์ ซึ่งผสมกับสารอื่น เช่น สตริ๊กนิน (strychnin) ยานอนหลับ และยาอื่นๆ เสพโดยวิธีสูดไอ
อื่นๆ ได้แก่ dilaudid, codeine ฯลฯ
๒. ยานอนหลับ (hypnotics) ยาสงบประสาท (sedatives) และยาคลายความวิตก กังวล (tranquilizers) ยานอนหลับและยาสงบประสาท ได้แก่ พวกบาร์บิจุเรท เมโปรบาเมท (meprobamate) ฯลฯ แต่ตัวที่สำคัญคือ บาร์บิจุเรท
บาร์บิจุเรทตัวที่นิยมใช้ที่สุดคือ เซโคนาล (seconal) ซึ่งมีชื่อเรียกกันในหมู่ผู้ใช้ว่า “เหล้าแห้ง” หรือ “ปีศาจแดง” ฤทธิ์ของยาจะไปกดความรู้สึกผิดชอบชั่วดี และความละอาย จึงมักจะนำไปสู่ความกล้าอย่างบ้าบิ่น การวิวาทรุกราน และอาชญากรรมในหมู่ผู้ใช้ที่เป็นชาย ในหญิงที่ทำงานกลางคืน เช่น พาร์ทเนอร์ นักร้อง หมอนวด และโสเภณีก็เป็นที่นิยม อันตรายที่ร้ายแรงอีกอย่างของยาเสพติดประเภทนี้คือ ทำให้เกิดการทำร้ายตนเอง เช่น การใช้มีดกรีดแขน กรีดหน้า และฆ่าตัวตาย
ยาคลายความวิตกกังวล ได้แก่ nitrazepam, chlordiazepoxide และ diazepam ฯลฯ นิยมใช้กันมากในปัจจุบันเพื่อลดอาการวิตกกังวล ซึมเศร้า ฯลฯ ยาจำพวกนี้เป็นที่ยอมรับใน ทางการแพทย์ว่าทำให้เสพติดได้ ถ้าใช้โดยขาดความระมัดระวัง
๓. กัญชา (marijuana) อันตรายจากการสูบกัญชาไม่ร้ายแรงเท่ายาเสพติดชนิดอื่น แต่อย่างไรก็ตามเป็นที่ยอมรับกันว่า การติดกัญชาเป็นก้าวแรกที่จะนำไปสู่การติดยาเสพติดชนิดอื่น กัญชาได้มาจากทุกส่วนของต้นกัญชา หรือจากยางของยอดต้นกัญชา และเสพโดยวิธีสูบเหมือนบุหรี่ ในประเทศไทยกัญชามีราคาถูก หาได้ง่าย และคุณภาพดี
๔. ยากระตุ้นประสาท (sympathomimetic drugs) ได้แก่ แอมเฟตามีน และโคเคน แอมเฟตามีนเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายในหมู่ผู้ใช้ว่า “ยาบ้า” หรือ “ยาขยัน” ได้รับความนิยม เพราะผู้ใช้คิดว่ายาช่วยให้จิตใจสดชื่น บางคนใช้เพื่อลดความอ้วน รายงานจากแพทย์ว่า ผู้ที่ใช้ยานี้เสมอๆ จะรู้สึกอ่อนเพลียแต่ไม่สามารถหลับได้ จึงอาจทำให้เกิดอาการของโรคจิต ยานี้เป็นที่นิยมในหมู่นักขับรถบรรทุก จึงเชื่อว่าน่าจะเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดอุบัติเหตุบนทางหลวง
๕. ยาหลอนประสาท (hallucinogens) ได้แก่ แอลเอสดี ไอระเหยจากสารบางอย่าง เช่น น้ำยาซักแห้ง ทินเนอร์ กาวน้ำ และเบนซิน ฯลฯ ยาประเภทนี้ใช้แล้วทำให้เกิดอาการประสาทหลอน คล้ายคนวิกลจริต ปัจจุบันยาหรือสารเหล่านี้ยังไม่สู้เป็นปัญหาสำหรับประเทศไทย เพราะยังไม่เป็นที่นิยม และยาหรือสารบางชนิดยังมีราคาค่อนข้างแพง
๖. เฟนไซคลิดีน (PCP หรือ “angel dust”) เมื่อไม่นานมานี้ เฟนไซคลิดีนเป็นยาสำคัญตัวหนึ่งที่ถูกนำมาใช้อย่างผิดๆ ในวงการสัตวแพทย์ยานี้ใช้เป็นยาชา แต่ที่นำมาใช้อย่างผิดๆ ในคนมักเป็นยาที่ผลิตเองในบ้านและมีหลายลักษณะ ได้แก่ เป็นผง ผลึก เม็ด หรือเป็นลักษณะใบไม้ เสพโดยการกิน สูบ สูดไอ หรือฉีด ผู้ขายมักจะปลอมปนเฟนไซคลิดีนมากับกัญชา แอลเอสดี หรือ เมสคาลีน (mescaline) ผลของยาทำให้การทำงานของสมองผิดปกติไป และอาจถึงตายได้
๗. บุหรี่ เป็นสารสำคัญมากชนิดหนึ่ง ซึ่งเพิ่งถูกจัดอยู่ในจำพวกสิ่งเสพติด เพราะสามารถซื้อขายและเสพได้อย่างถูกกฎหมาย สารในบุหรี่ที่ทำให้เสพติดคือ nicotine เสพโดยวิธีสูบ และเคี้ยว แต่วิธีสูบเป็นวิธีสำคัญที่สุดที่ทำให้เสพติด เมื่อเสพบุหรี่เป็นระยะเวลานาน ผู้เสพจะไม่สามารถหยุดบุหรี่ได้ แม้จะรู้ว่าบุหรี่ให้โทษต่อร่างกายเพียงใด และเมื่อหยุดเสพจะทำให้เกิดอาการขาดยา อันเป็นลักษณะของการเสพติด แต่ในทางปฏิบัติเรามักไม่วินิจฉัยยกเว้นรายที่มาขอ รับการรักษาเพื่อหยุดบุหรี่ หรือแล้วแต่ความคิดเห็นของแพทย์เป็นรายๆ ไป องค์การอนามัยโลก เชื่อว่าบุหรี่ทำให้เกิด psychotoxic effect ต่อผู้เสพด้วย
๑. ประเภทของยาเสพติด
จำแนกตามการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท แบ่งเป็น ๔ ประเภท
๑. ประเภทกดประสาท ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ยานอนหลับ ยาระงับประสาท ยากล่อมประสาทเครื่องดื่มมึนเมา
ทุกชนิด รวมทั้ง สารระเหย เช่น ทินเนอร์ แล็กเกอร์ น้ำมันเบนซิน กาว เป็นต้น มักพบว่าผู้เสพติดมี ร่างกายซูบซีด ผอมเหลือง
อ่อนเพลีย ฟุ้งซ่าน อารมณ์ เปลี่ยนแปลงง่าย
๒. ประเภทกระตุ้นประสาท ได้แก่ ยาบ้า ยาอี กระท่อม โคเคน มักพบว่าผู้เสพติดจะมีอาการ หงุดหงิด กระวนกระวาย จิตสับสนหวาดระแวง บางครั้งมีอาการคลุ้มคลั่ง หรือทำในสิ่งที่คนปกติ ไม่กล้าทำ เช่น ทำร้ายตนเอง หรือฆ่าผู้อื่น เป็นต้น
๓. ประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี และ เห็ดขี้ควาย เป็นต้น ผู้เสพติดจะมีอาการประสาทหลอน ฝันเฟื่องเห็นแสงสีวิจิตรพิสดาร หูแว่ว ได้ยินเสียง ประหลาดหรือเห็นภาพหลอนที่น่าเกลียดน่ากลัว ควบคุมตนเองไม่ได้ ในที่สุดมักป่วยเป็น
โรคจิต
๔. ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน คือทั้งกระตุ้นกดและหลอนประสาทร่วมกันได้แก่ ผู้เสพติดมักมี อาการหวาดระแวง ความคิดสับสนเห็นภาพลวงตา หูแว่ว ควบคุมตนเองไม่ได้และป่วยเป็นโรคจิตได้
๒. แบ่งตามแหล่งที่มา
แบ่งตามแหล่งที่เกิด ซึ่งจะแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ
๑. ยาเสพติดธรรมชาติ (Natural Drugs) คือ ยาเสพติดที่ผลิตมาจากพืช เช่น ฝิ่น มอร์ฟีน กระท่อม กัญชา เป็นต้น
๒. ยาเสพติดสังเคราะห์ (Synthetic Drugs) คือ ยาเสพติดที่ผลิตขึ้นด้วยกรรมวิธีทางเคมี เช่น เฮโรอีน แอมเฟตามีน ยาอี เอ็คตาซี เป็นต้น
๓. แบ่งตามกฎหมาย
แบ่งตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น ๕ ประเภท คือ
ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๑ ได้แก่ เฮโรอีน แอลเอสดี แอมเฟตามีน หรือ ยาบ้า ยาอี หรือ ยาเลิฟ
ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๒ ยาเสพติดประเภทนี้สามารถนำมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ได้ แต่ต้องใช้ภายใต้
การควบคุมของแพทย์ และใช้เฉพาะกรณีที่จำเป็นเท่านั้น ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน โคเคน หรือ โคคาอีน โคเคอีน และเมทาโดน
ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๓ ยาเสพติดประเภทนี้ เป็นยาเสพติดให้โทษที่มียาเสพติดประเภทที่ ๒ ผสมอยู่ด้วย
มีประโยชน์ทางการแพทย์ การนำไปใช้เพื่อจุดประสงค์อื่น หรือเพื่อเสพติด จะมีบทลงโทษกำกับไว้ ยาเสพติดประเภทนี้ ได้แก่
ยาแก้ไอ ที่มีตัวยาโคเคอีน ยาแก้ท้องเสีย ที่มีฝิ่นผสมอยู่ด้วย ยาฉีดระงับปวดต่าง ๆ เช่น มอร์ฟีน เพทิดีน ซึ่งสกัดมาจากฝิ่น
ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๔ คือสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๑ หรือประเภทที่ ๒ ยาเสพติดประเภทนี้ไม่มีการนำมาใช้ประโยชน์ในการบำบัดโรคแต่อย่างใด และมีบทลงโทษกำกับไว้ด้วย ได้แก่น้ำยาอะเซติคแอนไฮไดรย์ และ อะเซติลคลอไรด์ ซึ่งใช้ในการเปลี่ยน มอร์ฟีน เป็น เฮโรอีน สารคลอซูไดอีเฟครีน สามารถใช้ในการผลิต ยาบ้า ได้ และวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทอีก ๑๒ ชนิด ที่สามารถนำมาผลิตยาอีและยาบ้าได้
ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๕ เป็นยาเสพติดให้โทษที่มิได้เข้าข่ายอยู่ในยาเสพติดประเภทที่ ๑ ถึง ๔ ได้แก่ ทุกส่วนของพืช กัญชา ทุกส่วนของพืช กระท่อม เห็ดขี้ควาย เป็นต้น